ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

งานศึกษาฐานข้อมูลที่สนใจ

งานศึกษาฐานข้อมูลที่สนใจ


ประเภทงานที่ศึกษา
ฐานข้อมูลงานวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อวิทยานิพน์ การพัฒนาเจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน
ของ นายณัฐวุฒิ สกุณี

สรุปเนื้อหาที่ได้จากการศึกษา
      งานวิจัยนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
  1. เปรียบเทียบเจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานกับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ
  2. เปรียบเทียบเจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานในช่วงก่อนเรียนและหลังเรียน 
  3. ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ช่วงก่อนเข้าเรียน ระหว่างเรียนและหลังเลิกเรียน จำแนกตามระดับของเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
         ตัวแปรที่ผู้วิจัยใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ การจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ที่แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานและการจัดการเรียนการแบบปกติ 
โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน ผู้วิจัยได้แบ่งขั้นการสอนออกเป็น 4 ขั้น คือ 
  1. ขั้นกระตุ้นเพื่อเตรียมความพร้อม 
  2. ขั้นจัดกิจกรรมเพื่อสร้างประสบการณ์ 
  3. ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนคิด
  4. ขั้นสรุปและการนำไปใช้ 
        โดยผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างที่ทำการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 50 คน

        เครื่องมือที่ใช้คือ 
  1. แผนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐาน 
  2. แผนการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ 
  3. แบบวัดเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ 
  4. แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 
  5. แบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 
  6. แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 
  7. แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
ผลการวิจัยพบว่า 
  1. เจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานช่วงหลังเรียนสูงกว่าช่วงก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
  2. เจตคติ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
  3. พฤติกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในช่วงก่อนเข้าเรียน ระหว่างเรียนและหลังเลิกเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานที่จำแนกตามระดับของเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ทั้งสองระดับมีพัฒนาการที่ดีขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้
            นำรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมเป็นฐานไปปรับใช้กับการสอนนักเรียน โดยยึดหลักการสอนเป็น 4 ขั้นตอน คือ  ขั้นกระตุ้นเพื่อเตรียมความพร้อม ขั้นจัดกิจกรรมเพื่อสร้างประสบการณ์ ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสะท้อนคิด ขั้นสรุปและการนำไปใช้ ซึ่งจากผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีเจตคติและแรงจูงใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้นกว่ารูปแบบการสอนแบบปกติ ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนดีขึ้นด้วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Mind map: นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา และการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

นวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา และการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

Infographic:ระบบตัวเลขโรมัน

Mind map : ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล

ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล (Database Management Syystem : DBMS)